top of page
จังหวะของดนตรีไทย
จังหวะ หมายถึง หนึ่งความสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่นการหายใจ ชีพจรเต้น การเดิน และเป็นหนึ่งในการแบ่งระยะให้เป็นช่วงเป็นตอน เช่นการเต้น การพูดคุย การร้องเพลง
การเคลื่อนไหวที่สม่ำเสมอ อาจกำหนดไว้เป็นความช้าเร็วต่างๆ กัน เช่น เพลงจังหวะช้า เพลงจังหวะเร็ว
การกำหนดความ สั้น ยาว ของเสียงที่มีส่วนสัมพันธ์กับระยะเวลาในการร้องเพลงหรือเล่นดนตรีจะต้องมีจังหวะเป็นเกณฑ์ ถ้าร้องเพลงหรือเล่นดนตรีไม่ตรงจังหวะ ก็จะไม่มีความไพเราะเท่าที่ควร
จังหวะในดนตรีไทย
จังหวะสามัญ
จังหวะฉิ่ง
จังหวะหน้าทับ
จังหวะสามัญ
คือจังหวะที่เกิดขึ้นจากตนเอง โดยมีความคิดเป็นตัวกำหนดการจังหวะทุกอย่างและเป็นใจหลักของมนุษย์ การหายใจ การเดิน การพูด การนับจังหวะ การกิน
โดยวิธีการนักจังหวะโดยใช้ความรู้สึกและหลักการดังนี้
จังหวะฉิ่ง
คือการนำเอาเครื่องดนตรีฉิ่งเข้ามากำกับจังหวะ หรือกำหนดการบรรเลง โดยมีการแบ่งอัตราจังหวะตามความถี่ของรูปร่างลักษณะของเพลงหรือเสียงในท่วงทำนองของเพลงไทย
จังหวะปกติ สามชั้น สองชั้น และชั้นเดียว
จังหวะพิเศษ ตีฉิ่งอย่างเดียว ตีฉับอย่างเดียวและตีฉิ่งฉับ
จังหวะหน้าทับ
คือการตีจังหวะที่ใช้กลองหรือเครื่องหนังประกอบจังหวะ โดยใช้หลักเกณฑ์สำเนียงภาษาดนตรีไทย เพื่อกำหนดความสั้นยาวของเพลงและเรียกจังหวะว่า “หน้าทับ”ดังนี้ หน้าทับปรกไก่ หน้าทับสองไม้ หน้าทับเขมร
หน้าทับแขก หน้าทับลาว หน้าทับพิเศษ(ในเพลงหน้าพาทย์)
bottom of page