top of page

ศิลปะ ๔ เรื่อง

หลักการบรรเลงเครื่องดนตรีไทย 

การบรรเลงเครื่องดนตรีไทย เป็นการปฏิบัติเครื่องดนตรีไทยโดยการดีด สี ตี เป่า เพื่อให้เกิดเสียงและจังหวะตามท่วงทำนองที่ผู้ประพันธ์ได้เรียงเรียงไว้ ซึ่งการบรรเลงดนตรีไทยสามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทต่างๆ หลายรูปแบบด้วยกัน

       หลักการบรรเลงเครื่องดนตรีไทย คือ พื้นฐานของการปฏิบัติการบรรเลงดนตรีไทย เพื่อทำให้เกิดความไพเราะหรือถูกตามระเบียบของดนตรีไทย

        1.  เล่นให้ถูกต้องตามจังหวะและทำนองของเพลง

        2.  ปรับระดับเสียงของเครื่องดนตรีให้มีความกลมกลืนสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ในการบรรเลงเป็นวง

        3.  ปฏิบัติตามสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายทางดนตรีได้ถูกต้อง

        4.  ใช้หรือเล่นเครื่องดนตรีให้ถูกวิธีตามลักษณะเครื่องดนตรีชนิดนั้น

1. การบรรเลงเดี่ยว คือ การบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีชิ้นเดียว เป็นการบรรเลงคนเดียว แสดงถึง
ความสามารถของผู้บรรเลงทั้งในเรื่องความแม่นยำในด้านจังหวะ ทำนองเพลง
เทคนิคในการบรรเลงเดี่ยว
     1.1 ผู้บรรเลงต้องมีความสามารถและฝีมือในการบรรเลง
     1.2 ผู้บรรเลงต้องฝึกจดจำจังหวะทำนองของบทเพลงเพื่อให้บรรเลงได้ถูกต้อง
     1.3 ผู้บรรเลงต้องฝึกอ่านโน้ตก่อนการบรรเลงเสมอ
     1.4 ผู้บรรเลงต้องมีปฏิภาณไหวพริบในการบรรเลงเพราะการบรรเลงเดี่ยว บางครั้งมีการประชันฝี มือในการบรรเลงโต้ตอบกัน จึงต้องบรรเลงเพลงที่มีความเหนือชั้นกว่า
     1.5 ผู้บรรเลงต้องมีสมาธิในการบรรเลงเพื่อให้การบรรเลงดนตรีได้ถูกต้องตามจังหวะและทำนองเพลง
2. การบรรเลงรวมวง คือ การบรรเลงร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
เทคนิคในการบรรเลงรวมวง
     2.1 ฝึกฟังจังหวะเพื่อให้สามารถบรรเลงดนตรีได้ถูกต้องตามจังหวะและช่วยให้วงบรรเลงได้อย่างราบรื่น
     2.2 ผู้บรรเลงจะต้องฝึกการอ่านโน้ตที่จะบรรเลงเพื่อให้บรรเลงได้อย่างถูกต้อง
     2.3 ขณะบรรเลงผู้บรรเลงต้องมีความมั่นใจและบรรเลงได้เข้าจังหวะ ทำนองกับผู้บรรเลงอื่น
     2.4 ผู้บรรเลงต้องมีปฏิภาณไหวพริบในการบรรเลงเพราะบรรเลงร่วมกับผู้อื่นเมื่อมีการผิดจะต้องสามารถกลับเข้าสู่บทเพลงร่วมกับผู้อื่นได้อย่างแม่นยำ

bottom of page