top of page

ความแตกต่างของบทเพลงดนตรีไทย       

toonmecom_28b5ac_edited_edited.png

ความแตกต่างของเสียงที่เกิดขึ้นจากการบรรเลงของดนตรีไทยในวงต่างๆ ที่ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ของเสียงในแต่ละทาง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “บันไดเสียง”

บันไดเสียงดนตรีไทยนิยมเรียกกันว่า “ทาง” มี ๗ ทางคือ

toonmecom_fc50d2_edited_edited_edited.pn

      ๑. ทางเพียงออล่าง หรือทางในลด เป็นทางที่ใช้ระดับเสียงต่ำสุด เสียงขลุ่ยเพียงออ หรือเสียงฆ้องใหญ่ลูกที่ ๑o จะเป็นเสียงควบคุม การที่เรียกว่า “ทางเพียงออล่าง หรือ ทางในลด” ก็เพราะใช้ขลุ่ยเพียงออซึ่ง เป่าล่างหรือทางในลดเข้าประกอบ  ทางนี้มักใช้กับการบรรเลงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ หรือปี่พาทย์ไม้นวมประกอบการแสดงละครเป็นพื้น

๒.ทางใน เสียงควบคุมทางนี้อยู่สูงกว่าทางเพียงออล่าง หรือทางในลดขึ้นมา ๑ เสียง ที่เรียกว่าทางใน ก็เพราะใช้ปี่ในเป็นหลักของเสียง  ทางนี้มักใช้บรรเลงประกอบกับการแสดงโขนละคร

๓. ทางกลาง อยู่สูงกว่าทางในขึ้นมาอีกเสียงหนึ่ง มักใช้ประกอบกับการแสดงโขน หรือหนังใหญ่ ซึ่งเล่นอยู่กลางแจ้ง ต้องการให้มีเสียงสูงดังจ้าขึ้น ที่เรียกว่า ทางกลางก็เพราะใช้ปี่กลางเป่ากำกับเป็นหลัก

๔. ทางเพียงออบน หรือทางนอกต่ำ เสียงควบคุมอยู่สูงกว่าทางกลางขึ้นมาอีก ๑ เสียง ใช้กับการบรรเลง เครื่องสายและมโหรี ที่เรียกทางนี้เพราะใช้ขลุ่ยเพียงออ หรือปี่นอกต่ำ เป่ากำกับเป็นหลักของเสียง

๕. ทางกรวดหรือทางนอก ทางนี้อยู่สูงกว่าทางเพียงออบนหรือทางนอกต่ำขึ้นมาเสียงหนึ่งใช้ขลุ่ยกรวดหรือปี่นอก เป่ากำกับเป็นหลัก มักใช้บรรเลงประกอบเสภา ซึ่งบางท่านเรียกว่าทางเสภา

๖. ทางกลางแหบ อยู่สูงกว่าทางกรวดหรือทางนอก ขึ้นมาอีกเสียงหนึ่ง ใช้ปี่กลางเป่ากำกับเป็นหลักของเสียง แต่เป่าเป็นทางแหบ ไม่เป่าเป็นทางตรง ทางนี้ไม่มีผู้นิยมบรรเลงมากนัก

๗. ทางชวา เสียงเอกของทางนี้ อยู่สูงกว่าทางแหบขึ้นมาอีกหนึ่งเสียง ใช้ปี่ชวากำกับเป็นหลักของเสียง บางครั้งนักดนตรีอาจไม่บรรเลงเพลงทางนี้ ไปบรรเลงทางเพียงออบนหรือทางต่ำก็มี เช่นบรรเลงปี่พาทย์ในชุดนางหงส์ เป็นต้น

bottom of page